“ฝนหลวงฯ เจ๋ง!! จัดทำระบบแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์ด้านการเตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติ”
วันที่ 6 มีนาคม 2561 เวลา 13.00 น. นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการ บินเกษตร เปิดเผยว่า จากปัญหาหมอกควันและไฟป่าที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งทำให้เกิด ฝุ่นละอองที่เป็นมลพิษ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน สิ่งแวดล้อม ตลอดจนพื้นที่การเกษตร กรมฝน หลวงและการบินเกษตร ตระหนักถึงผลกระทบจาก ปัญหาดังกล่าว พร้อมทั้งมีความห่วงใยประชาชนในพื้นที่ จึงดำเนินการปฏิบัติการฝนหลวงยับยั้งปัญหาหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ โดยเฉพาะที่ตำบลแม่ปะ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ตำบลพระบาท อำเภอเมือง ตำบลบ้านดง ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง และ ตำบลนาจักร อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ อย่างเร่งด่วน นายสุรสีห์ กล่าวต่อว่า จากการติดตามประกาศเตือน และการพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา ร่วมกับผลตรวจอากาศชั้นบนของกรมฝนหลวงฯ พบว่า สภาพอากาศในช่วงเช้าของวันที่ 6 มีนาคม 2561 พื้นที่ภาคเหนือตอนบนยังไม่มีโอกาสขึ้นทำฝน แต่จากสถานการณ์ค่าฝุ่นละออง ที่มีขนาดเล็ก กว่า 10 ไมครอน (PM10) ซึ่งเกินค่ามาตรฐานในพื้นที่ 3 จังหวัดดังกล่าว หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่จึงได้เตรียมพร้อมติดตามสภาพอากาศอย่างต่อเนื่อง หากสภาพอากาศเหมาะสมสามารถทำฝนได้ จะเร่งปฏิบัติการทำฝนสลายหมอกควันทันที สำหรับการปฏิบัติการสลายลูกเห็บ กรมฝนหลวงฯ ได้วางแผนปฏิบัติการเพิ่มเติมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ ได้บูรณาการการ เฝ้าระวังการเกิดลูกเห็บร่วมกับ ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจะใช้เครื่องบิน Super King Air ในการปฏิบัติการยับยั้ง บรรเทาภัยพิบัติจากลูกเห็บ และมีการเฝ้าระวังและติดตามการเกิดลูกเห็บทางภาคพื้น ซึ่งจะทำการแจ้งเตือน ทางกรุ๊ปไลน์อาสาฝนหลวงภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้ง ส่งข้อมูลแจ้งไปที่กรมป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย เกษตรและสหกรณ์จังหวัด และประชาสัมพันธ์ของแต่ละจังหวัดที่มีความเสี่ยงต่อการเกิด พิบัติภัยจากพายุฤดูร้อนเพื่อเป็น การนำข้อมูลเรดาร์ตรวจอากาศของกรมฝนหลวงฯไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเกี่ยวกับการเตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติต่อไป นายสุรสีห์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของการแก้ปัญหาภัยแล้ง กรมฝนหลวงฯ ได้รับแจ้งการ ขอรับบริการสนับสนุนฝนหลวงในพื้นที่ภาคตะวันออก ได้แก่ พื้นที่ปลูกลำไยนอกเขตชลประทาน จำนวน 200,000 ไร่ บริเวณอำเภอสอยดาว อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี พื้นที่ปลูกพืชผักและผลไม้ จำนวน 1,000 ไร่ บริเวณอำเภอเมือง จังหวัดระยอง และพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 2,250 ไร่ อ้อยโรงงาน 1,000 ไร่ และหญ้าเนเปียร์ 1,000 ไร่ บริเวณ อำเภออรัญประเทศ และ อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว โดย หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดจันทบุรี ได้เริ่มปฏิบัติการในพื้นที่ภาคตะวันออก ตั้งแต่วันที่ 1– 5 มีนาคมที่ผ่านมา ผลการปฏิบัติการ พบว่า มีฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางกระจายในพื้นที่อำเภอแก่งหางแมว อำเภอเขาคิชฌกูฏ อำเภอสอยดาว และอำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี
อย่างไรก็ตาม ขอให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ที่ประสบปัญหาหมอกควัน หลีกเลี่ยงกิจกรรมใน พื้นที่ที่มีหมอกควันปกคลุมหรือสวมหน้ากาก อนามัย ส่วนพื้นที่ที่ประสบปัญหาพายุลูกเห็บ ขอให้ประชาชน หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่โล่งแจ้งหรือใต้ต้นไม้ใหญ่ และขอให้ประชาชนมั่นใจในความพร้อมของกรมฝนหลวงฯ ที่จะช่วยปฏิบัติการบรรเทาปัญหาหมอกควัน พายุลูกเห็บ ภัยแล้ง และการขาดแคลนน้ำ อย่างต่อเนื่องในทุก พื้นที่ทั่วประเทศ ทั้งนี้ สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่องได้ ทางเพจ Facebook กรมฝนหลวงและ การบินเกษตร หรือเว็บไซต์กรมฝนหลวงและการบินเกษตร
****************************************
ทีมข่าวThailandpressnews
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น